รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ
สูตินรีแพทย์

ภาวะแท้งซ้ำคืออะไร?

ภาวะแท้งซ้ำ หรือบางคนเรียกว่า แท้งซ้ำซาก ในภาษาอังกฤษใช้ว่า Recurrent miscar riage หรือ Recurrent abortion หรือ Recurrent pregnancy loss หมายถึง การที่สตรีตั้งครรภ์ มีการแท้งบุตรเอง (ในอายุครรภ์ที่ยังไม่สามารถเลี้ยงเด็กให้รอดชีวิตได้) ติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป [ทั้งนี้ไม่นับรวมการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หรือการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก(ครรภ์ไข่ปลาอุก)] อุบัติการณ์ของการแท้งซ้ำพบได้ 1 – 2% ของสตรีตั้งครรภ์
ภาวะแท้งซ้ำเป็นภาวะที่สร้างความเสียใจแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวอย่างมาก เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด ในขณะเดียวกันแพทย์ผู้ดูแลก็มีความกดดันด้วย เนื่องจากบางครั้งไม่สามารถหาสาเหตุการแท้งซ้ำได้

ใครที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งซ้ำ?
แท้งซ้ำ

สตรีตั้งครรภ์ทั่วไปมีโอกาสแท้งเอง 1 ครั้งประมาณ 15% และพบแท้งซ้ำประมาณ 1 -2% ของการตั้งครรภ์โดยรวม โดยปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแท้งซ้ำได้แก่ สตรีตั้งครรภ์มีอายุมาก ทำให้ลูกมีโอกาสที่จะมีโครโมโซมผิดปกติสูงขึ้น การมีประวัติแท้งในครรภ์ก่อนๆ จะมีโอกาสแท้งมากกว่าผู้ที่ไม่เคยแท้ง คู่สมรสมีโครโมโซมที่ผิดปกติ ทำให้ลูกมีโอกาสที่จะมีโครโมโซมผิดปกติมากขึ้นสตรีตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไท รอยด์ฮอร์โมน) ที่ทำให้การพัฒนาการทารกผิดปกติภาวะ Antiphospholipid antibody syndrome คือ ภาวะที่มีเส้นเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด(Vascular thrombosis) จึงส่งผลให้มีเลือดไปเลี้ยงทารกไม่สมบูรณ์พอมีการติดเชื้อในโพรงมดลูก ทำให้ทารกเสียชีวิตหรือมีความพิการแต่กำเนิด ที่ทำให้เกิดการ แท้งตามมา มีความผิดปกติของรูปร่างของมดลูกและ/หรือของโพรงมดลูก เช่น จากการมีเนื้องอกมด ลูก (Uterine fibroid) หรือมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของมดลูก เช่น มีผนัง/มีพังผืดในโพรงมดลูก (Septate uterus), มดลูกมีสองโพรงมดลูก (Bicornuate uterus) จึงทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนผิดปกติก่อให้เกิดการแท้งตามมา ปากมดลูกปิดไม่สนิท (Cervical incompetent) ทำให้ไม่สามารถพยุงถุงการตั้งครรภ์ไว้ได้ จึงทำให้เกิดการแท้ง

อาการที่บ่งบอกว่าจะมีการแท้งซ้ำคืออะไร?
อาการของการเกิดแท้งซ้ำเช่นเดียวกับอาการจากการแท้งทั่วไป ได้แก่

  • ปวดหน่วงท้องน้อย
  • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • ถุงน้ำคร่ำแตก

อนึ่ง: ทารกที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม มักเกิดการแท้งขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรก) ส่วนสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของมดลูก มักทำให้เกิดการแท้งใน ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ 4 – 5 เดือน)

สตรีตั้งครรภ์ควรดูแลตนเองอย่างไรไม่ให้เกิดการแท้งซ้ำ?

สตรีที่ตั้งครรภ์ทุกคนมีโอกาสแท้งเอง 1 ครั้งประมาณ 15% ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งเมื่อมีการแท้ง เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป มีโอกาสเกิดการแท้งเพิ่มเป็น 30% ดังนั้นสตรีที่เคยมีการแท้ง ควรรีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เพื่อที่จะประเมินความเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เกิดการแท้งซ้ำได้อีก สตรีตั้งครรภ์ไม่ควรชะล่าใจที่จะรอให้เกิดการแท้งซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกหลายครั้งจึงไปพบแพทย์ เพราะสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ทันท่วง ที (เช่น การติดเชื้อในโพรงมดลูก) ทำให้สามารถตั้งครรภ์ที่ 2 หรือ 3 สำเร็จได้

แพทย์รักษาภาวะแท้งซ้ำอย่างไร?

การรักษาภาวะแท้งซ้ำขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งซ้ำ ได้แก่ รักษา ควบคุม โรคประจำตัว เพื่อให้ภาวะการเจริญพันธุ์กลับมาเป็นปกติ เช่น โรคเบา หวาน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน)

ในกรณีที่มีโรค Antiphospholipid antibody syndrome ต้องมีการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ แอสไพริน เฮพาริน (Heparin)
กรณีที่มีความผิดปกติที่โพรงมดลูกจากการมีเนื้องอกหรือมีพังผืด ต้องมีการผ่าตัดออก

หากมีการปิดไม่สนิทของปากมดลูก โดยทั่วไปจะมีการเย็บผูกปากมดลูก (Cervical cerclage) ตอนอายุครรภ์ประมาณ 16 สัปดาห์ และจะตัดสายผูกนี้ตอนอายุครรภ์ครบกำ หนดคลอด

หากเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม การรักษาอาจต้องใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เช่น ใช้น้ำเชื้ออสุจิบริจาคหรือไข่บริจาคมาผสม หรือทำเด็กหลอดแก้ว

ในกรณีที่มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ เช่น Luteal phase defect ต้องมีการเสริมฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin)

มีวิธีสืบค้นหาสาเหตุแท้งซ้ำอย่างไร?

โดยทั่วไป หากสตรีที่มีประวัติการแท้งซ้ำมาพบแพทย์ แพทย์มักจะเริ่มสืบค้นหาสาเหตุ เมื่อแท้งไป 2 ครั้ง มักจะไม่รอให้แท้งถึง 3 ครั้ง สิ่งที่ต้องตรวจเพิ่มเติม/สืบค้น นอกจากการสอบถามประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการตรวจภายในเรียบร้อยแล้ว คือ

  • ตรวจเลือดดูโครโมโซมทั้งคู่ สามี ภรรยา
  • ตรวจเลือดเพื่อ ดูระดับฮอร์โมนต่างๆ เช่น ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศ เช่น โปรแลค ติน (Prolactin) ตรวจหาโรคเบาหวาน ตรวจระดับแอนติบอดี/Antibody (สารภูมิต้านทาน ) เพื่อดูโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย ที่อาจเป็นสาเหตุแท้งซ้ำได้ เช่น โรค Antiphospholipid antibody syndrome
  • ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) บริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อประเมินความผิดปกติของมดลูกและรังไข่
  • ตรวจประเมินสภาพภายในโพรงมดลูกโดยการส่องกล้องเข้าไปในโพรงมดลูก (Hystero scopy) และ/หรือ โดยการฉีดสารทึบแสง/การฉีดสีเข้าไปในโพรงมดลูก (Hysterosalpin gogram)

มีวิธีป้องกันการแท้งซ้ำหรือไม่?
วิธีป้องกันแท้งซ้ำได้แก่

  • งดดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษต่างๆ
  • รีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ คือ เมื่อสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์ (ขาดประจำเดือนหลังมีเพศ สัมพันธ์)
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกวัน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน
  • ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ตั้งแต่มีเพศสัมพันธ์เพื่อการวางแผนครอบครัว และเพื่อการเตรียม ร่างกายเมื่อประสงค์จะมีบุตร
  • หากแท้งซ้ำแล้วจะมีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่?
  • หากมีการแท้งซ้ำ ยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์สำเร็จจากการตั้งครรภ์ได้ หากแพทย์หาสาเหตุ การแท้งซ้ำพบและรักษาที่สาเหตุ ซึ่งโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จประมาณ 60 – 65% และเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ที่สำเร็จจะไม่มีความผิดปกติ จะไม่แตกต่างจากเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์ทั่วไป

 

ที่มา : http://haamor.com