เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของมนุษย์เราและเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อชีวิตอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครคิดถึงเรื่องว่า การออกกำลังกายจะเป็นตัวการตัวหนึ่งที่สามารถผลิตอนุมูลอิสระหรือสารก่อมะเร็งได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วการออกกำลังกายจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อร่างกายมนุษย์กันแน่ ก่อนอื่นขอเข้าเรื่องเป็นวิชาการก่อนเล็กน้อยเพื่อจะได้เข้าใจว่าอนุมูลอิสระหรือสารก่อมะเร็งคืออะไร
หน่วยที่เล็กที่สุดของสสารคือ อะตอมหรือปรมานู ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญโปรตอน (ประจุบวก) และอีเลคตรอน (ประจุลบ) จำนวนประจุบวกจะเท่ากับประจุลบ ประจุลบจะวิ่งอยู่รอบ ๆ ประจุบวกเป็นวง ๆ วงในมีได้แค่ 2 ตัว วงนอกมีได้ 8 ตัว ถ้าเมื่อไรวงนอกมีเกิน 8 ตัว มันจะแตกวงใหม่เป็นวงที่ 3 เช่นนี้ไปเรื่อยๆ

        ที่วงนอกที่สุดของอะตอม ถ้ามีประจุลบ จับกันเป็นคู่ๆ อะตอมนั้นจะเฉื่อยชา ไม่ค่อยมี ปฏิกริยาใดๆ แต่ถ้าเมื่อไรวงนอกสุดมีประจุลบเดี่ยว ๆ เมื่อนั้นมันจะว่องไวมีปฏิกริยากับอะตอมอื่นได้ง่าย และอะตอมที่มีประจุลบเดี่ยวๆ ที่วงนอกนี้ก็คืออนุมูลอิสระ

ปฏิกริยาของอะตอมประจุลบเดี่ยวนั้นก็คือ “ขโมย” โดยไปขโมยประจุลบของอะตอมข้างเคียง เพื่อทำให้ตัวมันนั้นมีประจุลบคู่ อะตอมที่ถูกขโมยลบไปก็จะกลายเป็นอนุมูลอิสระแทน เป็นปฏิกริยาลูกโซ่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ

สำหรับออกซิเจนสามารถมีประจุลบเดี่ยวถึง 2 ตัว ได้ที่วงนอก ฉะนั้นออกซิเจนจึงเป็นอนุมูลอิสระที่ว่องไวมากและอันตรายมาก ฉะนั้นถ้ามีการใช้ออกซิเจนมากที่ใดในร่างกาย อวัยวะนั้นก็จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้มากตามมาด้วย ฉะนั้นการออกกำลังกายมีการเผาผลาญออกซิเจนมากมายในกล้ามเนื้อ อนุมูลอิสระจึงเกิดขึ้นมากมายตามมาด้วย เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 5-20 %

อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์นั้นมีได้หลายตัวส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับออกซิเจนทั้งนั้น คือ 02-, OH-} H202, 102 และ nitric oxide ซึ่งมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
อนุมูลอิสระที่มาจากภายนอกร่างกาย
– มลพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ควันเสีย เขม่า คาร์บอนโมนอกไซด์จากรถยนต์
– ควันบุหรี่, ยาฆ่าแมลงและยาฉีดยุง
– รังสี เช่น รังสีปรมาณู รังสีเอกซ์เรย์
– เชื้อโรคไวรัส เมื่อเข้าร่างกายเม็ดเลือดขาวจะสร้างอนุมูลอิสระเพื่อไปฆ่าเชื้อโรคและ ไวรัส ถ้าสร้างมากเกิดไปก็เกิดโทษต่อร่างกายได้
– การอักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ เช่นข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่บริเวณอักเสบแล้วสร้างอนุมูลอิสระเพื่อจะลดการอักเสบเพราะมันคิดว่าเป็นเชื้อโรค แต่เมื่ออักเสบโดยไม่มีเชื้อโรคอนุมูลอิสรที่เกิดขึ้นเลยทำร้ายร่างกาย กลับเป็นอักเสบเพิ่มขึ้น
– การออกกำลังกายจนกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย

ผลร้ายของอนุมูลอิสระ
1. ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือแก่เร็วโดยไปทำให้เกิดความผิดปกติที่หน่วยพันธุกรรม (DNA)
2. เส้นเลือดตีบตัน ถ้าเป็นเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตันจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ถ้าเป็นที่ไต – ไตจะเสื่อม ไตวาย ถ้าเป็นที่สมอง – เกิดอัมพาตครึ่งซีก
3. เกิดโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โดยที่ร่ายกายจะสร้างภูมิคุ้มกันมากเกินไปจนมาทำอันตรายอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพุ่มพวง เป็นต้น
4. การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อ โดยเฉพาะการเป็นตะคริว
5. มะเร็ง
6. โรคความจำเสื่อม
7. โรคสมองเสื่อม Parkinson
การเกิดอนุมูลอิสระจากการออกกำลังกาย
เป็นที่แน่นอนแล้วว่า (จากงานวิจัยหลายรายงาน) การออกกำลังกายสามารถสร้างอนุมูลอิสระได้ตั้งแต่ 5-20% แต่ร่างกายของมนุษย์เราสามารถสร้างเอนไซม์หลายชนิดที่สามารถทำลายอนุมูลอิสระได้ทันที แต่ถ้าอนุมูลอิสระเกิดขึ้นมากเกินไป ร่างกายจะกำจัดได้ไม่หมดซึ่งจะเป็นอันตราย
การออกกำลังกายระดับปกติ 
– การเผาผลาญเกิดขึ้นช้า ๆ เรื่อย ๆ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะน้อยและช้าๆ ประมาณ 2-5% ทำให้ระบบต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้หมด
การออกกำลังกายหนัก
– ถึงแม้จะสร้างอนุมูลอิสระได้มากก็จริงแต่การออกกำลังกายแบบนี้จะทำในช่วงเวลา สั้นๆ เท่านั้น ร่างกายจึงสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้หมดแต่อาจจะช้าไปบ้าง
การออกกำลังกายจนอ่อนล้า
– เป็นการออกกำลังกายค่อนข้างหนักและนาน อนุมูลอิสระที่เกิดจะมีปริมาณมากถึง 20% ได้และเป็นเวลานาน เกินความสามารถของระบบกำจัดอนุมูลอิสระของร่างกายจะทำได้หมด จึงเหลืออนุมูลอิสระมากพอที่จะทำลายเซลล์ต่างๆ ได้ และยังทำปฏิกริยาลูกโซ่ให้เกิดอนุมูลอิสระอื่นๆ เช่นจากไขมัน Lipid peroxidation และจากโปรตีน glutathione oxides ทำให้ปริมาณอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นไปอีก
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ
– ผู้สูงอายุ จะมีกล้ามเนื้อที่เล็กลง ความแข็งแรงลดลง ความอดทนลดลง ง่ายต่อการบาดเจ็บ การอักเสบถ้าออกกำลังมากเกินไป และความสามารถในการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อจากการอ่อนล้าจะลดลงมาก ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อนั้นไม่สามารถปรับตัวได้เร็วเพียงพอที่จะออกกำลังในครั้งต่อไป และที่สำคัญความสามารถของระบบต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะลดลงด้วย
สารต่อต้านอนุมูลอิสระ มี 2 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ร่างกายสร้างขึ้นได้เอง
– เป็นพวกเอนไซม์และโคเอนไซม์ มี 6 ตัว
– เป็นพวกโปรตีน ประมาณ 10 ตัว
2. กลุ่มที่ได้จากนอกร่างกาย
– วิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน
– วิตามินซี
– วิตามินอี
– กลูตามีน
– ฟลาโวนอยด์ (สารที่มีสีในผัก และผลไม้)
– ชา โดยเฉพาะชาใบขาว
– สมุนไพร บางชนิด
– เซเลเนี่ยม
สรุป เรื่องอนุมูลอิสระกับการออกกำลังกายได้ดังนี้
1. การออกกำลังกายขนาดธรรมดา จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นได้ 2-5% ซึ่งร่างกายคนเราสามารถทำลายได้หมดทันทีด้วยระบบป้องกันอัตโนมัติ Antioxidant enzymes
2. การออกกำลังกายหนักไม่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากเกินกำลังของระบบป้องกันอัตโนมัตินี้
3. การออกกำลังจนอ่อนล้าจะมีอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นได้ถึง 20% ซึ่งเกินกำลังของระบบ ป้องกันอัตโนมัติ
4. ผู้สูงอายุซึ่งมีกล้ามเนื้อที่เล็กลง สมรรถภาพลดลง อ่อนล้าง่ายขึ้น และความสามารถของระบบป้องกันอัตโนมัติลดลง ฉะนั้นในการออกกำลังกายธรรมดาก็อาจจะมีอนุมูลอิสระหลงเหลือได้
5. การรับประทานวิตามินซีหรืออี จึงจะมีประโยชน์กับนักกีฬาที่ต้องฝึกจน กล้ามเนื้ออ่อนล้า หรือผู้สูงอายุที่ยังออกกำลังกายธรรมดาเป็นประจำ
6. การออกกำลังกายสายกลาง ที่ผู้เขียนเสนอแนะตั้งแต่ 2525 ดูจะเข้าเกณฑ์ปลอดภัยจากอนุมูลอิสระ